Description
Ironclad (Aerosol) สเปรย์เคลือบฟิล์มใสป้องกันสนิม
คุณสมบัติ
เซป ไอร์ออนแคล็ด น้ำยาสังเคราะห์พิเศษเคลือบป้องกันสนิม ความชื้น ทาแบบก่อสร้าง ถอดแบบ สำหรับโลหะ อะไหล่ และอุปกรณ์ทุกชนิดที่ต้องการเก็บรักษา ล้างออกได้ง่ายเมื่อต้องการใช้งาน เคลือบแล้วจะเป็นผิวใสเหมือนแว๊กซ์ที่ไม่ติดไฟ ทนความร้อนสูง -40-550 F (-46 C to 288 C) โดยไม่ทำให้ฟิล์มแตกหรือลอก ไม่ว่าจะทิ้งไว้กลางแสงแดดร้อนจัด ทา 1 ครั้งปกป้องกลางแจ้งได้ ถึง 6 เดือน ในที่ร่มได้ถึง 1 ปี หรือมากกว่า หากทาน้ำยาเป็นฟิล์มหนา 5-7 มิล จะปกป้องกลางแจ้งได้ถึง 2 ปี และในที่ร่มได้ตลอดไป
เหมาะสำหรับ
การเคลือบกันสนิมระยะยาว โดยต้องการการหล่อลื่นที่เป็นน้ำมันหรือแว๊กซ์เคลือบโลหะ ซึ่งสามารถนำไปเชื่อม หรือบัดกรีต่อได้โดยไม่ต้องล้างออก
วิธีใช้
ควรทำความสะอาดผิวหน้าก่อนเคลือบและให้ผิวหน้าแห้งเพื่อเพิ่มประสิทธภาพในการทำงาน จะให้แปรงทา จุ่มแช่ หรือสเปรย์ก็ได้
ขนาดบรรจุ
กระป๋องสเปรย์ 13 ออนซ์ (น้ำหนัก 369 กรัม)
กลุ่มลูกค้า
อุตสาหกรรรม, ยานยนต์, ก่อสร้าง
>> สั่งซื้อหรือสอบถามรายละเอียดสินค้า <<
LINE ID: @manekionline
E-mail: sales@manekionline.com, manekisales1@gmail.com
Tel: 02-665-6170, 090-880-6778
Fax: 02-260-3697
เลือกดูสินค้าในประเภทเดียวกัน Chemical Products
สนิม คืออะไร?
สนิม คือ การผุกร่อน (Corrosion) ของเหล็ก เกิดจากการทำปฏิกิริยาเคมี ของเหล็ก กับ น้ำ และ อากาศ กลายเป็น สนิมของเหล็ก แน่นอนที่ว่าสนิมเกิดจากปฏิกิริยาเคมี ดังนั้นปฏิกิริยานี้สามารถเร่งให้เกิดขึ้นได้และยังป้องกันได้ทางเคมีอีกด้วย สนิมแบ่งออกได้เป็น 4 ประเภท
-
สนิมกัดกร่อนทั่วไป (General corrosion)
เป็นการกัดกร่อนที่เกิดขึ้นตลอดทั่วผิวหน้า (Uniform attack) การกัดกร่อนแบบนี้มีอันตรายน้อย เพราะว่าสามารถวัด และทำนายการกัดกร่อนที่จะเกิดขึ้นล่วงหน้าได้ -
สนิมกัดกร่อนเนื่องจากความต่างศักย์ไฟฟ้า (Galvanic corrosion)
เป็นการกัดกร่อนที่เกิดจากโลหะ 2 ชนิดที่มีศักย์ทางไฟฟ้าแตกต่างกันมาอยู่ติดกัน จุ่มอยู่ในสารละลายที่มีฤทธิ์กัดกร่อนเดียวกัน เหล็กที่มีความต่างศักย์สูงกว่าจะไม่เกิดการกัดกร่อนก่อน เช่น การนำเหล็กผูกติดกับ ซิงค์ Zn หรือ แมงกานิสMg -
สนิมกัดกร่อนตามขอบเกรน (Intergranular corrosion)
การกัดกร่อนตามขอบเกรนเกิดขึ้นเนื่องจากเกิดการตกผลึกของโครเมียมคาร์ไบด์บริเวณขอบเกรน ที่อุณหภูมิสูงประมาณ 450° – 850°C. ทำให้ขอบเกรนมีปริมาณโครเมียมลดลง มีความต้านทานการกัดกร่อนตามแนวขอบเกรนต่ำ *เกรน คือผลึกที่เกิดจากการเย็นตัวของเหล็กในกระบวนการอบชุบเหล็ก การที่โครเมียมลดลงย่อมทำให้เกิดสนิมเหล็ก เพราะโครเมียมเป็นสารที่ใช้ป้องกันสนิทเหล็ก -
การกัดกร่อนแบบสนิมขุม (Pitting corrosion)
การกัดแบบเป็นจุดหรือแบบสนิมขุมเป็นการกัดกร่อนเฉพาะที่เป็นอันตรายมาก ซึ่งมีผลทำให้เกิดการกัดกร่อนที่ผิวหน้าเป็นรูเล็กๆ หรือเป็นรูทะลุตลอดเนื้อวัสดุ แต่สามารถวัดการสูญเสียเนื้อวัสดุได้น้อย สิ่งแวดล้อมที่มีการกัดกร่อนแบบสนิมขุม ส่วนมากจะเป็นสารละลายที่มีคลอไรด์ไออน (Chloride ion) จะเป็นตำแหน่งที่ฟิล์มถาวรจะถูกทำลายได้ง่ายที่สุดในสิ่งแวดล้อมเช่นนี้ ควรจะเลือกใช้วัสดุด้วยความระมัดระวัง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสารละลายของกรดที่มีอุณหภูมิสูง ถ้าเงื่อนไขที่จะทำให้เกิดการกัดกร่อนแบบสนิมขุมไม่สามารถแก้ไขได้ ให้แก้โดยการเลือกใช้โลหะผสมที่ต้านทานการกัดกร่อนสูงกว่า เช่น เหล็กกล้าไร้สนิมเกรดดูเพล็กซ์ และเกรดอื่นๆ ที่สามารถแก้ไขปัญหาได้
5 สาเหตุที่ทำให้ก๊อกน้ำเป็นคราบสนิม
“หินปูน” ตัวกลางสำคัญที่ทำให้เกิดสนิม
ปัจจัยสำคัญที่ทำให้เกิดสนิมขึ้นที่ก๊อกน้ำ คือ หินปูนหรือคราบตะกรันที่มาจากน้ำบาดาล เมื่อสะสมไประยะเวลาหนึ่งก็จะก่อตัวจนทำลายชั้นเคลือบผิวจนก่อให้เกิดสนิมขึ้นได้ ตลอดจนปูนซีเมนต์ที่มาจากการก่อสร้าง ไม่ว่าจะเป็นจากภายนอกหรือการตกแต่งเพิ่มเติมจากภายใน หากปล่อยให้ผงปูนมาเกาะและไม่ทำความสะอาดก็อาจทำปฏิกิริยากับออกซิเจนและความชื้น จนทำให้เกิดสารเคมีที่มีฤทธิ์กัดกร่อนผิวของก๊อกน้ำจนทำให้เกิดสนิมในท้ายที่สุด
“คลอรีน” ในน้ำประปา นานวันสนิมยิ่งเกาะ
นอกจากน้ำบาดาลที่ทำให้เกิดคราบสนิมได้เนื่องจากมีคราบหินปูนและแร่ธาตุต่างๆ ในปริมาณมาก น้ำประปาที่เกิดจากการเติมคลอรีนเข้าไป ซึ่งคลอรีนถือเป็นตัวการที่ทำให้เกิดการออกซิเดชั่นกับธาตุเหล็กจนเกิดเป็นสนิมในที่สุดได้เช่นกัน
“น้ำยาล้างพื้นห้องน้ำ” ใช้ไม่ระวัง สนิมขึ้น
หลายท่านอาจไม่ทราบว่าน้ำยาล้างพื้นห้องน้ำสามารถทำให้ก๊อกอ่างล้างหน้าเกิดสนิมขึ้นได้ ถึงแม้จะไม่ได้นำมาราดโดยตรงกับก๊อกน้ำก็ตาม แต่ว่าไอระเหยที่เกิดขึ้นหลังจากล้างทำความสะอาดพื้นสามารถเกาะยังพื้นผิวก๊อกน้ำ ฝักบัว ท่อและสายฉีดได้ เมื่อสะสมเป็นระยะเวลาหนึ่งก็จะทำให้เกิดสนิมได้ ดังนั้นเมื่อทำความสะอาดพื้นห้องน้ำทุกครั้ง อย่าลืมที่จะล้างน้ำเพื่อทำความสะอาดไอระเหยที่อาจเกาะติดได้
ริมทะเล
หากบริเวณบ้านอยู่ใกล้กับชายหาดก็จะทำให้เกิดสนิมได้ง่าย เนื่องจากลมชายหาดจะพัดพาไอเกลือจากทะเลซึ่งมีคุณสมบัติกัดกร่อนผิวเหล็กบางชนิด เมื่อมีการสะสมเป็นระยะเวลานานก็จะทำให้เกิดสนิมได้ในท้ายที่สุด ดังนั้นการเลือกผลิตภัณฑ์สำหรับการไปติดตั้งอยู่บริเวณใกล้ทะเลหรือชายหาดอย่างอุปกรณ์ห้องน้ำต่างๆ อย่างก๊อกน้ำ ฝักบัว ท่อน้ำ ตลอดจนวัสดุที่เป็นเหล็กควรเลือกผลิตภัณฑ์ที่มีการเคลือบสารกันสนิมและเช็ดทำความสะอาดเป็นประจำเพื่อรักษาอายุการใช้งานให้นานขึ้น
เลือกวัสดุดี มีชัยไปกว่าครึ่ง
นอกจากนี้สนิมยังอาจเกิดขึ้นได้จากวัสดุที่นำมาทำก๊อกน้ำ อย่างสเตนเลสบางชนิดเมื่อมีการกัดกร่อนจากกรดหรือด่างในปริมาณมากจะทำให้พื้นผิวของสเตนเลสก็จะเกิดสนิมขึ้นได้ ดังนั้นการเลือกวัสดุที่นำมาทำก๊อกน้ำนั้นก็มีความสำคัญเช่นเดียวกัน ควรเลือกก๊อกน้ำที่มีการเคลือบผิวด้วยโครเมียมหรือนิกเกิล หรือทองเหลืองที่มีความต้านทานในการเกิดสนิมได้ดี
แหล่งความรู้: https://www.nahm.co.th/th/tips/detail/21
วิธีกำจัดคราบสนิม 5 วิธี ด้วยของที่มีอยู่ในบ้าน
คราบสนิมสามารถป้องกันไม่ให้เกิดขึ้นได้ แต่ในบางครั้งการปล่อยปละละเลยจากการดูแล ก็อาจทำให้เกิดคราบสนิมโดยไม่รู้ตัวได้ แต่จะดีกว่าไหมถ้าเราสามารถกำจัดคราบสนิมเองโดยไม่ต้องเสียเงินซื้อใหม่ พบกับวิธีกำจัดสนิมง่ายๆสำหรับแม่บ้านพ่อบ้านสายประหยัด
1. มันฝรั่งดิบ กับ เกลือ
ไม่น่าเชื่อว่ามันฝรั่งดิบ ก็สามารถขจัดคราบสนิมให้เราได้ เพียงแค่คุณตัดแบ่งครึ่งมันฝรั่งออกเป็น 2 ชิ้น แล้วใช้เกลือทาที่บริเวณผิวเนื้ อของมันฝรั่งให้ทั่ว จากนั้นก็นำมันฝรั่งไปขัดกับวัสดุที่มีคราบสนิมเกาะอยู่ เมื่อผิวของมันฝรั่งเริ่มสกปรก ก็ให้ตัดส่วนนั้นออกไป แล้วนำเกลือมาทาผิวมันฝรั่งอีกครั้ง จากนั้นก็นำมันฝรั่งไปขัดต่อได้เลย เมื่อคราบสกปรกจางหายไปแล้ว ล้างด้วยน้ำสะอาดเพื่อกำจัดคราบมันฝรั่งอีกครั้ง เพียงเท่านี้เราก็จะกำจัดคราบสนิมออกไปได้แล้ว
2. เบกกิ้งโซดา
หากที่บ้านใครมีเบกกิ้งโซดาอยู่ ก็สามารถนำมาใช้ขจัดคราบสนิมออกได้ โดยการนำเบกกิ้งโซดามาโรยบนของที่เป็นสนิม แล้วใช้แปรงสีฟันเก่าที่ไม่ใช้แล้วจุ่มกับน้ำ แล้วขัดเอาคราบสนิมออกให้หมด ซึ่งวิธีนี้จะเหมาะกับสิ่งของที่ไม่ห่วงสวย เพราะมันทำให้เกิดรอยได้นะคะ เพียงเท่านี้คราบสนิมก็จะหลุดออกไปอย่างง่ายดาย ไม่ต้องออกแรงขัดเยอะ
3. น้ำส้มสายชู
หากคุณเดินไปห้องครัว แล้วหยิบน้ำส้มสาชูมาสักขวด ก็สามารถแก้ปัญหาวัสดุที่เป็นสนิมได้แล้ว โดยการนำวัสดุที่มีสนิมใส่ลงไปในภาชนะที่มีทรงสูงสักหน่อย แล้วเทน้ำส้มสายชูลงไปให้พอท่วมวัสดุ แช่ทิ้งไว้ข้ามคืน แล้วคราบสนิมจะหลุดออกมาโดยที่คุณไม่ต้องขัดให้เหนื่อยเลย วิธีนี้เหมาะสำหรับวัสดุชิ้นเล็กๆที่เกิดสนิม เช่น ที่เปิดขวด กรรไกรตัดเล็บ เป็นต้น
4. มะนาว กับ เกลือ
ของใช้ใกล้ตัวที่น่าจะมีกันทุกบ้านอย่าง มะนาวกับเกลือ ก็ช่วยได้เหมือนกัน เพียงแค่นำเกลือมาโรยลงบนวัสดุที่มีคราบสนิม แล้วบีบน้ำมะนาวลงไปบนจุดที่โรยเกลือให้ชุ่ม จากนั้นก็ทิ้งไว้สัก 2-3 ชั่วโมง เพื่อให้มะนาวกับเกลือทำปฏิกิริยากั ดกร่อนคราบสนิมให้หลุดออกมา เสร็จแล้วก็ใช้เปลือกมะนาวเป็นตัวขัดสนิมออก แล้ววัสดุที่เคยมีสนิมเกาะก็จะสะอาดไร้คราบสนิม
5. น้ำยาเคมีกัดสนิม
น่าจะเป็นทางเลือกที่ดีสำหรับผู้ที่ไม่มีเวลาสรรหาสิ่งต่างๆจากข้อที่ 1 – 4 หรืออาจจะมาถึงทางตันใช้อะไรสนิมก็ยังคงเกาะฝังแน่น เพราะน้ำยากัดสนิมจะเข้าไปช่วยกัดสนิมที่ผลิตภัณฑ์ของคุณโดยที่ไม่ทำร้ายพื้นผิวของผลิตภัณฑ์ของคุณแถมยังถูกสร้างขึ้นมาเพื่อให้เข้ากับพื้นผิวของผลิตภัณฑ์และการใช้งานของคุณ คุณสามารถเลือกใช้ได้ตามความต้องการ แต่อย่าลืมข้อสำคัญคุณจะต้องทำตามคำแนะนำการใช้งานและคำนึงถึงความปลอดภัยทั้งกับตัวเองและผู้อื่นเสมอด้วยนะ โดยระวังทั้งเด็กและสัตว์เลี้ยงไม่ให้เข้าใกล้บริเวณห้องน้ำ ที่สำคัญต้องอ่านฉลากก่อนนำไปใช้หากมีข้อแม้อื่น ๆ เราจะได้ระวังอย่างถูกวิธี เริ่มแรกต้องราดน้ำยาลงบนคราบและปล่อยทิ้งไว้ 1 ชั่วโมง กรดไฮโดรคลอริกในน้ำยาเคมีจะเข้าไปกัดกร่อนคราบสนิม หลังจากนั้นใช้แปรงขัดและล้างออกด้วยน้ำสะอาด หรือถ้าหาน้ำยากัดสนิมไม่ได้จริง ๆ แนะนำให้ใช้น้ำยาทำความสะอาดห้องน้ำและชักโครงล้างสนิมแทนก็จะได้ผลเหมือนกันค่ะ
แหล่งความรู้(1): http://bitcoretech.com/5-ways-to-get-rid-of-rust-stains-with-household-items-no-need-to-exert-scrubbing/
แหล่งความรู้(2): https://home.kapook.com/view124072.html
แต่ถ้าใช้อะไรแล้วก็ยังเกิดคราบสนิมอีก มาเนกิขอแนะนำน้ำยาขจัดคราบสนิมน้ำ น้ำยากำจัดสนิมเหล็ก และ น้ำยาทำความสะอาดอีกหลากหลายชนิด คุณสามารถเลือกซื้อสินค้าให้เหมาะกับความต้องการของคุณได้ หรือถ้าหากหาสินค้าชนิดใดไม่เจอ คุณสามารถติดต่อสอบถามกับเจ้าหน้าที่ได้ตลอดเวลาทำการนะคะ
>> สั่งซื้อหรือสอบถามรายละเอียดสินค้า <<
LINE ID: @manekionline
E-mail: sales@manekionline.com, manekisales1@gmail.com
Tel: 02-665-6170, 090-880-6778
Fax: 02-260-3697
เลือกดูสินค้าในประเภทเดียวกัน Chemical Products
Reviews
There are no reviews yet.